คลอดลูกธรรมชาติ VS ผ่าคลอด สิ่งที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้!

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตรที่กำลังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกวิธีการคลอดอยู่นั้น ต้องทำความเข้าใจและทราบถึงรายละเอียดในแต่ละวิธีอย่างชัดเจนและครบถ้วนที่สุด เพื่อให้สามารถตัดสินใจและเลือกวิธีการคลอดได้ตามความต้องการ ซึ่งในแต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกันและมีผลกระทบแทรกซ้อนต่อสุขภาพร่างกายที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณแม่ที่มีสภาวะความเสี่ยงต่ำหลายคนจึงมักจะเลือกคลอดแบบธรรมชาติมากกว่าคุณแม่ที่มีสภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ที่แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าคลอดแทนนั่นเอง

 ผู้หญิงท้องนั่งอยู่ที่เก้าอี้

ความแตกต่างของการคลอดเองและการผ่าคลอด

การคลอดธรรมชาติ เป็นการให้กำเนิดบุตรโดยอาศัยแรงเบ่งคลอดเองของคุณแม่ผ่านทางช่องคลอด เมื่อครบกำหนดอายุครรภ์ประมาณ 37 – 42 สัปดาห์ จะมีสัญญาณการเจ็บปวดท้องเกิดขึ้นควบคู่กับปากมดลูกที่ขยายเปิดออกกว้างพร้อมทำการคลอด วิธีการคลอดธรรมชาตินี้คุณแม่จะสามารถรับรู้ได้ถึงความเจ็บทั้งหมดในระหว่างการคลอดได้ ซึ่งที่บริเวณปากช่องคลอดนั้นค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูงจนขยายกว้างได้มากเท่าตัวของทารกเลย จึงถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยทั้งแก่ตัวคุณแม่และทารกในครรภ์มากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการดมยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณไขสันหลัง แต่อาจมีการใช้คีมหรือเครื่องดูดสูญญากาศเข้ามาคอยช่วยผ่อนแรงเบ่งของคุณแม่ และนำเด็กออกมาได้สะดวกมากขึ้น

ส่วนการคลอดโดยการผ่าคลอด มักจะถูกเลือกเป็นวิธีการคลอดสำรองในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งจะเป็นการคลอดที่มีการเปิดปากแผลตรงบริเวณหน้าท้องผ่านเข้าไปที่ผนังมดลูก โดยนำเด็กออกมาทางช่องท้องของคุณแม่ ซึ่งในระหว่างการทำคลอด อาจมีการบล็อกหลังหรือใช้ยาสลบร่วมด้วยได้ เพื่อช่วยระงับความเจ็บปวดของบาดแผลผ่าคลอดให้กับคุณแม่

อัลตร้าซาวผู้หญิงท้อง

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ระหว่างการคลอดธรรมชาติกับการผ่าคลอด

สำหรับการคลอดธรรมชาติ มักจะเป็นวิธีการคลอดที่คุณแม่หลายคนเลือกเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในโพรงมดลูก ช่วยลดการสูญเสียเลือดได้น้อยกว่าการผ่าตัดคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดแผลขนาดเล็กไม่มีแผลเกิดขึ้นที่มดลูก จึงสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว สร้างความเจ็บภายหลังการคลอดไม่นาน และใช้เวลาในการพักฟื้นน้อย ในส่วนของทารกเองก็จะจะได้รับเชื้อโปรไบโอติกส์ที่บริเวณช่องคลอดของแม่ ทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันที่ดีตามมา แต่ในทางตรงข้ามการคลอดธรรมชาติเองนี้ก็มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อในช่องคลอดได้เช่นเดียวกัน จนต้องทนเจ็บยาวนานมากขึ้น จนเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป็นวิธีการผ่าคลอดแทนในลำดับต่อมา

ส่วนการคลอดโดยวิธีการผ่า ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่ต้องคอยกังวลกับอาการเจ็บปวดเมื่อถึงกำหนดการคลอดเลยแม้แต่น้อย สามารถเข้ามาพักเตรียมความพร้อมรอที่โรงพยาบาลก่อนได้เลย โดยสามารถเลือกวันเวลาการเกิดของทารกได้ในช่วงครบสัปดาห์อายุครรภ์ และสามารถทำหมันได้ทันทีหลังจากการทำคลอดเสร็จ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่มีครรภ์เสี่ยงสูงอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันการผ่าคลอดก็ถือว่าเป็นวิธีการคลอดที่เสี่ยง เพราะมีการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก เกิดบาดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่และมีแผลที่มดลูกเกิดขึ้น จึงฟื้นตัวได้ช้า และอาจมีอาการหนาวสั่นภายหลังการคลอดได้อีกด้วย
Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

การคลอดเองหรือผ่าคลอดแบบไหนเจ็บกว่ากัน?

ระดับความเจ็บในขณะคลอดนั้น แน่นอนว่าการคลอดแบบธรรมชาติจะมีความเจ็บปวดที่มากกว่า ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับการบีบตัวของมดลูก ท่าทางของทารก และความอดทนต่อความเจ็บของคุณแม่เอง โดยในขณะคลอดร่างกายของคุณแม่จะสร้างฮอร์โมนออกซีโตซินออกมาเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด พร้อมทั้งกระตุ้นให้มดลูกเกิดการบีบตัวที่แรงขึ้น ส่งผลให้คุณแม่คลอดได้ง่ายและรู้สึกเจ็บปวดลดลง ส่วนการผ่าคลอดนั้นจะมีการระงับความเจ็บด้วยเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ  เช่น การฉีดยาลดอาการปวดเข้าที่บริเวณหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ การบล็อกหลัง เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยระงับอาการเจ็บปวดได้ตั้งแต่เริ่มต้นในระหว่างรอการทำคลอด จนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้ายของการทำคลอดเลยนั่นเอง

ผู้หญิงท้อง

ปัจจัยที่ต้องห้ามที่ไม่สามารถเลือกวิธีการคลอดแบบธรรมชาติได้

สำหรับการตัดสินใจเลือกวิธีการทำคลอดนั้น จะต้องมีการตรวจร่างกายเพื่อซักประวัติสุขภาพในการประเมินความเหมาะสมในการเลือกวิธีการคลอดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน ซึ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยง เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคหัวใจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผู้ที่มีสภาวะครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำ จะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตกเลือดได้ค่อนข้างสูง รวมทั้งในผู้ที่อยู่ในสภาวะเร่งด่วนจะไม่สามารถคลอดเองได้โดยจะต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีการผ่าคลอดแทนด้วยเช่นกัน เช่น กรณีทารกอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมต่อการคลอด ทารกไม่กลับหัวจนอยู่ในสภาวะวิกฤต  การตั้งครรภ์แฝด กระดูกเชิงกรานของคุณแม่มีขนาดเล็กกว่าตัวทารก เป็นต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published.