นมแม่ที่อุ่นแล้ว สามารถนำไปแช่ตู้เย็นแล้วนำกลับมาให้ลูกดื่มใหม่ได้ไหม?

การให้นม ถือเป็นพลังแห่งรักและการสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างแม่กับลูก หากคุณแม่คนไหนที่เคยให้นมลูกจะรู้ดีว่า ในช่วงแรกของการให้นมนั้นยากลำบากมากแค่ไหนกว่าจะได้น้ำนมมาแต่ละหยด หากจะต้องสูญเสียน้ำนมที่แสนมีค่านี้ไปคงเป็นเรื่องน่าเสียดายมากแน่ ๆ จึงจะต้องแน่ใจว่าเมื่อคุณแม่ได้ปั๊มนมออกมาแล้ว น้ำนมแม่จะถูกจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่างการนำไปแช่ในช่องฟรีซ เพื่อที่จะรักษาสารอาหารและคุณภาพของน้ำนมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด แต่จะทำอย่างไรหากนำนมแม่มาอุ่นให้ลูกทานแล้ว แต่เจ้าตัวน้อยดันดื่มไม่หมด จะนำน้ำนมนี้เก็บเข้าตู้เย็นแล้วอุ่นให้ลูกทานอีกรอบได้หรือไม่ วันนี้ Punnita มีคำตอบ

breast-pump-bottle-with-milk-baby

น้ำนมที่อุ่นแล้วนำไปแช่เย็นอีกครั้ง สามารถนำมาให้ลูกดื่มได้อย่างปลอดภัยหรือไม่?

Dr. Tamika K. Cross คุณหมอชาวอเมริกาให้คำแนะนำว่า “นมแม่อุ่นแล้วที่เหลือนั้นสามารถนำกลับไปแช่เย็นได้อีกแต่จะต้องรีบนำมาใช้ภายในสองชั่วโมง เพราะถึงแม้ว่าการแช่เย็นจะช่วยยืดระยะเวลาการเติบโตของแบคทีเรียแต่จะไม่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกต่อไป” แต่ถึงแม้ว่าการนำนมที่อุ่นแล้วไปแช่ตู้เย็นได้จะฟังดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำมากนัก หากไม่จำเป็น เพราะการที่คุณใช้น้ำนมที่อุ่นแล้วแช่ตู้เย็นมาให้ลูกทานอาจมีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อแบคทีเรียเติบโต เป็นที่มาที่ทำให้เด็ก ๆ ไม่สบายท้องและกลายมาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อย

 

นำน้ำนมแม่ที่อุ่นแล้วไปแช่ช่องฟรีซได้อีกหรือไม่?

สำหรับในกรณีนี้ Dr. Cross ให้ข้อมูลไว้ว่า น้ำนมแม่ที่มีการอุ่นแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่ช่องแช่แข็งอีก เพราะการอุ่นนมที่แช่แข็งจะเข้าไปทำลายคุณลักษณะทางธรรมชาติบางประการที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งโครงสร้างที่เปลี่ยนไปแล้วนี้ ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีก จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมนมที่อุ่นแล้วไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก แต่ควรเก็บไว้ในช่องแช่เย็นและรีบนำมาดื่มให้เร็วที่สุดภายในสองชั่วโมง

portrait-beautiful-mother-with-her-baby

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “นมแม่”

Q: นมแม่มีอายุการเก็บรักษานานเท่าไหร่?

A: กรมควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ (CDC) ให้ข้อมูลว่านมแม่ที่เพิ่งถูกปั๊มออกจากเต้าไม่นาน สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้สูงสุด 4 ชั่วโมง เก็บรักษาในช่องแช่เย็นได้มากสุด 4 วัน และเก็บในช่องแช่แข็งได้ประมาณ 6 เดือน หากน้ำนมถุงไหนที่ถูกเก็บรักษาไว้นานกว่านี้จำเป็นที่จะต้องเก็บทิ้งไป และขอย้ำอีกครั้งว่าน้ำนมที่นำมาอุ่นแล้วนั้น ควรเก็บแค่ในช่องแช่เย็นและนำมาใช้ภายในสองชั่วโมง

 

Q: ทำไมน้ำนมแม่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากสำหรับลูกน้อย?

A: เพราะในน้ำนมแม่ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่จำเป็นกับทารกน้อย อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยของเจ้าตัวน้อยอีกด้วย เช่น 

ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกหลังคลอด น้ำนมแม่จะประกอบด้วย แอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งจากเซลล์ของแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย นมแม่จึงเปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็กทารก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย 

และเมื่อลูกน้อยของคุณอายุประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำนมแม่ของคุณจะกลายเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ฮอร์โมน และทุกสิ่งที่ลูกน้อยของคุณต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาสมอง

 

Q: วิธีการที่ดีที่สุดในการอุ่นนมแม่คือวิธีใด?

A: กรมควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ (CDC) ให้คำแนะนำว่าควรย้ายนมแม่ที่แช่แข็งไว้ในช่องแช่เย็นปกติข้ามคืน (ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง) ในกรณีที่ไม่มีเวลาสามารถนำนมแม่ที่แช่แข็งไว้มาแช่ชามน้ำอุ่น หรือวางให้น้ำอุ่นไหลผ่านสักสองถึงสามนาที เพื่อละลายนมและอย่าลืมเขย่าให้น้ำนมที่แยกตัวรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนนำไปให้ลูกน้อยรับประทาน และสามารถตั้งหม้อ ใส่น้ำ และนำนมแม่ที่อยู่ในถุงหรือขวดไปอุ่นได้ (ไม่ควรให้อุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียสเพราะจะทำให้สารอาหารในนมแม่ถูกทำลาย)

 

และที่สำคัญไม่ควรอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟ เพราะอุณหภูมิของนมอาจสูงเกินไปทำให้ลวกปากของลูกน้อยได้ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีอุ่นนมวิธีใด ให้ทดสอบอุณหภูมิที่ข้อมือก่อนป้อนนมลูกเสมอ

 

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com