รู้ไหม? ทำไมถึงควรพูดคุยกับลูกน้อยอยู่เป็นประจำ

เด็ก ๆ ในวัยทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบเป็นภาษากับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่บางท่านเคลือบแคลงสงสัยว่าการพูดคุยกับลูกในช่วงวัยเหล่านั้นจำเป็นไหม หรือต้องรอให้ลูกโต้ตอบและเข้าใจภาษาที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารก่อนค่อยพูดคุยกันก็ยังไม่สาย แต่หากคุณคิดแบบนี้บอกเลยว่าไม่ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย โปรดจงรู้ไว้ว่าหากคุณไม่แบ่งเวลามาพูดคุยหรือเล่นกับลูกเท่าที่ควรอาจทำให้ลูกน้อยของคุณเสี่ยงมีพัฒนาการทางด้านทักษะภาษาที่บกพร่อง ดังนั้นวันนี้ร้าน”ปุณณิฏา” ร้านขายของแม่และเด็กครบวงจรในย่านพัฒนาการ จึงอยากขอนำเสนอประโยชน์และความสำคัญเกี่ยวกับการพูดคุยกับลูกเป็นประจำให้กับคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่ได้ทราบโดยทั่วกัน

ความสำคัญของการพูดคุยกับลูกตั้งแต่วัยทารก

  • สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่และลูกน้อย ถึงแม้เจ้าตัวเล็กจะยังไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการสื่อสารและตอบโต้เป็นภาษาไม่ได้ แต่สิ่งที่แน่นอน คือ พวกเขาจะจดจำเสียงที่คอยพูดคุยกับพวกเขา และรับรู้ได้ว่านี่คือเสียงของคนในครอบครัวที่พูดคุยกับเขาเป็นประจำ
  • ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูกน้อย ลูกน้อยสามารถพูดคุยหรือสื่อสารได้รวดเร็ว และเป็นไปตามพัฒนาการที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัย
  • การพูดคุยกับลูกน้อยบ่อย ๆ เป็นการเพิ่มคลังคำศัพท์ในสมองให้กับลูกน้อย ทำให้พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น
  • นอกจากพัฒนาการทางด้านการสื่อสารของเด็กที่ก้าวหน้า การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ยังทำให้สมองของพวกเขาถูกกระตุ้นเป็นประจำ จึงทำให้พวกเขามีพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย
  • และสุดท้ายเด็กเล็กยังไม่ได้ออกไปเจอโลกภายนอกมากนัก การพูดคุยกับลูกจะทำให้พวกเขาได้เรียนรู้โลกภายนอกมากขึ้นผ่านการฟังเรื่องราวต่าง ๆ จากพ่อแม่

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

 

วิธีการในการพูดคุยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของทารก

การพูดคุยกับลูกเพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการของพวกเขา ต้องมีวิธีการในการพูดที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกสามารถเรียนรู้ไปได้ตามสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูด นอกจากนี้ยังต้องมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวในขณะที่พูดคุยเพื่อไม่ให้ลูกเสียสมาธิและเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยที่แท้จริง โดยการพูดคุยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกมีเทคนิค ดังนี้

  • พูดนำ และรอจังหวะ/กระตุ้นให้ลูกพูดต่อ เช่น พูดแล้วเว้นจังหวะให้ลูกพูดตาม เป็นต้น
  • อย่าพยายามพูดแทรกในขณะที่ลูกกำลังพูดอยู่
  • พยายามเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวันเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวัน
  • ขณะที่พูดคุยกับลูกต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบ เช่น ไม่มีเสียงรบกวนจากทีวี คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ลูกสามารถโฟกัสไปยังการพูดคุยได้
  • หากไม่รู้จะพูดคุยเรื่องอะไร ให้ดูหัวข้อง่าย ๆ ที่ลูกสนใจ เช่น สัตว์ สิ่งของ ผัก หรือผลไม้
  • การรับประทานอาหารเองก็เป็นอีกหนึ่งการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสื่อสารของลูก เพราะเป็นการเพิ่มทักษะในการขยับปาก

ไม่คุย ไม่เล่นกับลูก ปล่อยลูกไว้กับหน้าจอ เสี่ยงเป็น “ออทิสติกเทียม”

ในยุคปัจจุบันที่คุณพ่อคุณแม่ต่างก็มีภาระหน้าที่การงานต้องทำ ทำให้เวลาที่ใช้ในการพูดคุยกับลูกน้อยหรือเล่นกับลูกน้อยลดถอยลง และนอกจากนี้มีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นทีวี มือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก และทำให้เด็ก ๆ อยู่นิ่ง ๆ ได้โดยไม่มารบกวนคุณพ่อคุณแม่ในขณะทำงาน แต่รู้หรือไม้ว่าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนกำลังทำแบบนี้อยู่ ท่านอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น “ออทิสติกเทียม” ให้กับลูก

โดยโรคออทิสติกเทียมนี้ ต่างจากการเป็นออทิสติกแท้ที่เกิดมาจากความผิดปกติของโครโมโซมในครรภ์มารดาที่ทำให้พัฒนาการทางสมองบกพร่อง แต่ออทิสติกเทียมมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดู เนื่องจากการปล่อยลูกไว้กับหน้าจอ จะทำให้เด็ก ๆ รู้จักแค่กับการสื่อสารทางเดียว ไม่เข้าใจการสื่อสารโต้ตอบ รวมถึงไม่ได้รับการฝึกฝนในการพูดสื่อสารกับคนรอบตัว ทำให้เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมจะมีอาการบกพร่องทางพัฒนาการโดยเฉพาะในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม โดยเด็กจะพูดได้ช้า ไม่สนใจคนหรือสิ่งแวดล้อมรอบข้าง รวมถึงมีปัญหาในการเข้าสังคมกับผู้อื่น ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการของโรคออทิสติกจึงถูกเรียกว่า ออทิสติกเทียม ซึ่งความแตกต่างคือ การเป็นออทิสติกเทียม สามารถรักษาให้หายได้โดยการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ๆ และปรับพฤติกรรมกรรม แต่หากอยากให้ลูกของคุณห่างไกลจากโรคนี้แพทย์แนะนำว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรให้เด็กดูสมาร์ตโฟน ทีวี หรือแท็บเล็ต และเมื่อเด็กมีอายุครบ 2 ขวบขึ้นไปสามารถปล่อยให้เด็กดูได้บ้างแต่รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และที่สำคัญ คือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อย