ความสำคัญของสุขภาพคุณแม่ในช่วงการให้นมลูกรัก

การให้นมลูกถือเป็นหนึ่งในวิธีสานสัมพันธ์ที่บริสุทธิ์และแน่นแฟ้นระหว่างแม่กับลูก นอกจากจะสร้างความผูกพันอันลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นการมอบสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ช่วยให้เขาเติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

อย่างไรก็ตาม แม้การให้นมจะส่งผลดีต่อทารก แต่สำหรับคุณแม่แล้ว กระบวนการนี้อาจนำมาซึ่งความเหนื่อยล้า ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน ดังนั้น ในบทความนี้ เราขอนำเสนอแนวทางในการดูแลสุขภาพของคุณแม่หลังการให้นม เพื่อให้คุณแม่สามารถฟื้นฟูร่างกาย และพร้อมดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

mommy and baby

ผลกระทบของการให้นมลูกน้อยที่แม่ต้องเผชิญ 

การเป็นคุณแม่ โดยเฉพาะในช่วงให้นมลูก ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ของคุณแม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผลกระทบที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้

1. อาการเจ็บบริเวณเต้านม 

การให้นมลูกจากเต้าโดยตรง แม้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งผ่านสารอาหารและความอบอุ่นให้กับลูกน้อย แต่ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บบริเวณเต้านมได้ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการให้นม เมื่อทารกดูดนม อาจส่งผลให้เกิดอาการ หัวนมแตก เจ็บ แสบ หรือคัดตึงบริเวณเต้านม ซึ่งอาจเกิดจากการที่ลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี หรือมีการดูดแรงเกินไป นอกจากนี้ การให้นมไม่เป็นเวลา หรือปล่อยให้น้ำนมคั่งอยู่ในเต้านานเกินไป ก็อาจนำไปสู่อาการคัดเต้า

2. ภาวะเต้านมอักเสบ

คุณแม่หลายคนอาจเผชิญกับ ภาวะเต้านมอักเสบ โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 3–4 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่เข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแตกเล็ก ๆ บริเวณหัวนม หรือจากการที่น้ำนมคั่งค้างในเต้านานเกินไป ซึ่งอาการของภาวะเต้านมอักเสบ ได้แก่

  • เต้านมแดง ร้อน และบวม
  • คลำพบก้อนแข็งภายในเต้านม
  • มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณเต้าอย่างชัดเจน
  • มีไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลีย

3. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ 

นอกจากอาการเจ็บเต้านมและภาวะเต้านมอักเสบแล้ว คุณแม่หลังคลอดยังอาจเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะในช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัวหลังการคลอดและขณะให้นมลูก

  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)
  • ผมร่วงหลังคลอด  
  • ผิวแห้งและขาดความชุ่มชื้น

นอกจากนี้ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมผ่านทางน้ำนม แม่ยังจำเป็นต้องระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหาร โดยต้อง หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคอาหารบางประเภท ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและลูกน้อย

วิธีการดูแลสุขภาพของคุณแม่ในช่วงให้นม

วิธีการดูแลสุขภาพของคุณแม่ในช่วงให้นม

ในช่วงให้นมลูก ร่างกายของคุณแม่ยังคงอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูหลังคลอด ขณะเดียวกันก็ต้องผลิตน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการนี้ใช้พลังงานและทรัพยากรในร่างกายอย่างมาก จนทำให้คุณแม่มีน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณแม่สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม แข็งแรง และมีความพร้อมในการดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่ ต่อไปนี้คือวิธีดูแลสุขภาพในช่วงให้นมที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ด้านอาหารและโภชนาการจำเป็น

1.ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำวันละ 8–10 แก้ว ช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอาการคัดเต้าของแม่

2.ดื่มนม

คุณแม่ให้นมควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ วันละ 1 – 2 แก้ว  เพราะแคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำนม

3.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

ในช่วงให้นม แอลกอฮอล์ถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัด เพราะสามารถซึมเข้าสู่น้ำนมและส่งผ่านไปยังลูกน้อยได้ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท และการนอนหลับของลูก อีกทั้งยังลดปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต ซึ่งในคุณแม่ หากเลือกดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอีกด้วย

4.รับประทานเมนูปลา ตับ และไข่

อาหารกลุ่มนี้อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินเอ ดี และบี 12 ซึ่งช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่และลูกน้อย

5.รับประทานผักใบเขียวและผลไม้

ผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักโขม คะน้า และผลไม้หลากสี เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ช่วยเสริมระบบย่อยอาหารและบำรุงเลือด

6.เพิ่มยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟลิน

เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง และส่งเสริมพัฒนาการของลูก

ด้านการจัดการความเครียด

1.การพักผ่อน

แม้การดูแลลูกน้อยอาจทำให้แม่ต้องนอนหลับไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน แต่การพยายามหาเวลาพักผ่อนในระหว่างวัน เช่น การนอนหลับพร้อมลูก หรือให้คนในครอบครัวช่วยดูแลบ้าง จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดีขึ้น และลดความเครียดสะสม

2.ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

การหาเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำในสิ่งที่ตนเองรัก เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูซีรีส์ หรือแม้แต่การนั่งจิบชาร้อน ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ช่วยเติมพลังใจและลดความตึงเครียดได้อย่างมาก

ด้านจิตใจ

1.แบ่งปันความรู้สึกกับคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้ใจ

การพูดคุยและเปิดใจแบ่งปันความรู้สึกกับคู่ชีวิต สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนสนิท จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกไม่โดดเดี่ยว ลดความเครียด และได้รับการสนับสนุนทางใจ นอกจากนี้ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาหรือแพทย์ ก็เป็นทางเลือกที่ดีเมื่อมีอาการเครียดสะสมหรือรู้สึกซึมเศร้า

ดูแลสุขภาพคุณแม่ช่วงให้นมอย่างมั่นใจด้วยตัวช่วยเสริมจาก Punnita

การดูแลสุขภาพของคุณแม่ในช่วงให้นม ไม่ใช่เพียงแค่การดูแลลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้แม่มีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง พร้อมที่จะดูแลลูกอย่างเต็มที่ เพราะเราเชื่อว่าความผูกพันระหว่างแม่กับลูกคือสิ่งบริสุทธิ์และทรงพลังที่สุด
Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com