ความสำคัญของการหัดคลานที่ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อย

เด็กในช่วงวัยตั้งแต่ 6 – 10 เดือน แม้ว่าความน่ารักน่าชังของลูกน้อยจะเป็นเรื่องโดดเด่น แต่ในวัยดังกล่าวมักเริ่มมีพัฒนาการรูปแบบต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเติบโตอย่างแข็งแรง ซึ่งหนึ่งในรูปแบบพัฒนาการที่เกิดขึ้นและมีความสำคัญ คือ การหัดคลาน เป็นการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง แล้วนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองแบบอื่น ๆ เช่น การเดิน การวิ่ง การทรงตัว ฯ ทำให้พ่อแม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับโมเม้นต์สำคัญนี้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ดังนี้

ด้านร่างกาย 

  • เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

การคลายช่วยให้กล้ามเนื้อจำเป็น เช่น แขน ขา หลัง และลำตัว แข็งแรงเพื่อพัฒนาไปสู่การหัดเดิน 

  • การประสานกล้ามเนื้อ

การเคลื่อนไหวด้วยการคลานยังช่วยประสานการทำงานกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของลูกน้อย 

  • การรับรู้พื้นที่

เป็นการสร้างเสริมความเข้าใจระยะห่างของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการมองเห็น การตัดสินใจ และการรับรู้ทิศทาง

อารมณ์ และสติปัญญา

  • การสำรวจ

อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและสิ่งใหม่ ๆ ผ่านการเคลื่อนไหว 

  • การแก้ไขปัญหา 

การคลานช่วยให้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถไปยังเป้าหมายหรือสถานที่ที่ต้องการไป 

  • ความมั่นใจในตนเอง

การเคลื่อนที่ด้วยตนเองทำให้ลูกน้อยรู้สึกภูมิใจ โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว เนื่องจากความสำเร็จนี้ช่วยสร้างเสริมความมั่นใจ

แนวทางการปรับตัวและรับมือ เมื่อลูกเริ่มหัดคลาน

แนวทางการปรับตัวและรับมือ เมื่อลูกเริ่มหัดคลาน

แม้ว่าพัฒนาการที่สำคัญนี้ส่งผลต่อลูกน้อยที่คุณรัก แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้คนในบ้านจำเป็นต้องมีการปรับตัวและรับมือ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการหัดคลานที่เหมาะสม ด้วยแนวทางเหล่านี้

  1. สร้างแรงจูงใจ
    ใช้วิธีการเรียก หลอกล่อด้วยสิ่งที่ลูกชื่นชอบ เพื่อให้คลานตาม
  2. ห้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
    ลูกน้อยในวัยทารกสามารถรับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ของพ่อแม่ได้ ทำให้การพูดชมเชยแสดงความตื่นเต้น ดีใจ และภูมิใจ ช่วยเพิ่มความมั่นใจระหว่างการฝึกหัดคลาน
  3. ส่งเสริมการล้ม
    การล้มคือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ จึงควรเฝ้ามองอยู่ห่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การทรงตัวและการปรับตัวอย่างเป็นธรรมชาติ
  4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
    การคลานทำให้ลูกต้องสัมผัสและชนกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงและความคุ้นชินให้กับกล้ามเนื้อ เพื่อการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง ทำให้การปรับตัวและรับมือที่สำคัญ คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น ไม่มีสิ่งกีดขวาง สะอาดปราศจากเชื้อโรค โล่ง และอาจปูพื้นด้วยวัสดุนุ่ม ๆ เพื่อลดความรุนแรงเวลาหกล้ม
  5. เตรียมใจรับความเปลี่ยนแปลง
    การเคลื่อนไหวด้วยตนเองเพิ่มความซุกซนหลายเท่าตัวให้กับลูกน้อย ทำให้ผู้ปกครองอาจต้องปรับกิจวัตรประจำวัน เช่น การวางของที่พื้น การจัดบ้านให้เรียบร้อย และการตามจับลูกน้อยคลานทั้งวัน

วิธีกระตุ้นการคลานด้วยการมีส่วนร่วมให้ลูกหัดคลานด้วยของเล่น

วิธีกระตุ้นการคลานด้วยการมีส่วนร่วม

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทำให้ความสามารถในการคลาน มักมีระยะที่แตกต่างกันออกไป หรือในลูกน้อยบางคนอาจไม่ชื่นชอบหรือโปรดปรานการเคลื่อนไหวรูปแบบนี้มากนัก แต่ไม่ถือเป็นความผิดปกติหรือบกพร่องแต่อย่างใด ซึ่งพ่อและแม่สามารถกระตุ้นการคลานได้ หากต้องการให้เกิดการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี ด้วยวิธีดังนี้

  1. ใช้ของเล่นกระตุ้น
    วางของเล่นที่เด็กชื่นชอบหรือสนใจไว้ไม่ใกล้ไม่ไกล เพื่อให้ลูกน้อยขยับร่างกายด้วยการเอื้อมและการคลานไปยังของสิ่งนั้น ซึ่งผู้ปกครองค่อย ๆ เพิ่มระยะทางได้
  2. เปลี่ยนท่าเล่น
    บางครั้งการขยับกล้ามเนื้อบางส่วนยังเป็นสิ่งที่เด็กไม่ชื่นชอบหรือไม่ถนัด เช่น คอ แขน และหลัง ซึ่งพ่อแม่สามารถกระตุ้นด้วย
  • การนอนคว่ำ
    เพื่อเสริมกล้ามเนื้อแขน คอ และหลัง
  • การขยับมือและเข่า
    การทำท่าทางดังกล่าว ควบคู่กับการโยกไปมาช่วยเสริมพัฒนาการด้านการทรงตัว เพื่อปรับตัวกับการหัดคลานและความอยากขยับร่างกาย
  • การเล่นหน้ากระจก
    พ่อแม่สามารถใช้ความอยากรู้ตามธรรมชาติด้วยวิธี การเล่นหน้ากระจก เพื่อให้ทารกพยายามเอื้อมหรือยื่นมือไปหาภาพสะท้อนซึ่งกระตุ้นการเคลื่อนไหวรูปแบบคลาน
  • คลานหรือเล่นด้วยกัน 
    การเล่นในระดับสายตาหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น พูดคุย คลาน ช่วยให้ลูกน้อยไม่กลัวและกังวลการคลานคนเดียว  แล้วลอกเลียนแบบท่าทางการคลานจากพ่อและแม่ที่กำลังพยายามทำในสิ่งเดียวกัน

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com
ทิปสำหรับพ่อแม่เพื่อการปรับตัวและรับมือลูกน้อยไม่หัดคลานตามอายุ : ในเด็กบางคนอาจไม่มีการหัดเดินด้วยตนเอง แต่สามารถหัดเดินหรือยืนได้ทันที ซึ่งสามารถเฝ้าพัฒนาการได้ปกติ หากทารกมีพัฒนาการอื่น ๆ การควบคุมศีรษะ การนั่ง และการยืน 

ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อลูกน้อยอายุมากกว่า 12 เดือนแล้ว แต่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรือใช้ข้างแขนหรือขาข้างเดียวในการเคลื่อนไหว ไปจนถึงขาดทักษะการพยุงตัวเพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อตรวจเช็คพัฒนาการและสุขภาพของลูกที่คุณรัก 

ในบทความนี้ ปุณณิฏาได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเพื่อให้พ่อแม่ปรับตัวและรับมือ เมื่อลูกเริ่มหัดคลาน เพื่อให้พ่อแม่และผู้ปกครองได้เตรียมความพร้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกต้องและเหมาะสม จนลูกรักสามารถหัดคลานได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะการหัดคลานเป็นดมเม้นต์สำคัญสำหรับคุณและลูกรัก