หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่สร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกคน คงต้องยกให้กับอาการลูกน้อยสะอึก ยิ่งหากเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กเล็กด้วยแล้ว ส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้วิธีรับมือที่เหมาะสม ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยเกิดอาการสะอึก หากปล่อยให้ลูกสะอึกจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและเป็นอันตรายหรือไม่ เพื่อแนะนำแนวทางการเลี้ยงลูกที่ดีสู่ฉบับคุณแม่มือโปร ดังนั้นบทความนี้ Punnita จึงจะมาอธิบายเคลียร์ชัดทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการลูกน้อยสะอึกให้ทุกคนได้รับทราบกัน คุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยต่อทั้งตัวเด็กและทุกคนในครอบครัว
อาการลูกน้อยสะอึก คืออะไร?
ลูกน้อยสะอึกเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ครั้งคราว มีลักษณะอาการเมื่อลูกน้อยหายใจออกจะมีเสียงออกมาด้วย ในเด็กเล็กบางรายอาจมีการโยกของกะบังลมร่วมด้วย ทำให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและไม่สมดุล ร่างกายทำงานไม่สัมพันธ์กัน
สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการสะอึก
อาการลูกน้อยสะอึกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญ ดังนี้
1.สาเหตุทางกายภาพ
-
การขยายตัวของกระเพาะอาหาร
ลูกน้อยหรือเด็กทารกที่ดื่มนมเข้าไปจะมีอาการสะอึกตามมาเกือบทุกราย เพราะกระเพาะอาหารของเด็กเกิดการขยายตัว ทำให้เกิดแรงดันส่งไปยังกล้ามเนื้อบริเวณกะบังลม ส่งผลให้กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะที่หายใจออก จนเกิดอาการสะอึกขึ้น
-
ความผิดปกติในระบบประสาท
เด็กทารกที่มีอาการสะอึกยาวต่อเนื่องเป็นชั่วโมง และสะอึกถี่บ่อยครั้ง อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในระบบประสาท เพราะระบบประสาทจะมีหน้าที่ในการควบคุมและส่งสัญญาณจากสมองไปยังระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของระบบประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของอาการสะอึก
-
ยาที่มีผลต่อระบบประสาท
ยาบางชนิดสามารถส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ลูกน้อยมีอาการสะอึกได้ เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท หรือยาคล้ายกล้ามเนื้อที่มีผลกระทบต่อการควบคุมกล้ามเนื้อสะอึก ดังนั้นก่อนจะให้ลูกน้อยรับประทานยาอะไรเข้าไป ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ชัดก่อนทุกครั้ง เพราะเด็กยังมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่แข็งแรงมากนัก ยาแต่ละชนิดอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ทันที
-
สภาวะเสี่ยงต่อการสะอึก
การถูกกระแทก หรือบาดเจ็บในระหว่างการเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ทุกสภาวะที่กล่าวมามีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสะอึกของลูกน้อยได้หมด โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด (ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) จะพบว่ามีอัตราการเกิดอาการสะอึกสูงกว่าเด็กเล็กสุขภาพเต็มสมรรถภาพ
2.สาเหตุทางจิตวิทยา
-
ความเครียดและภาวะสุขภาพจิตของเด็ก
ไม่เพียงแต่ในผู้ใหญ่ แต่ในเด็กทารกแรกเกิดและเด็กเล็กก็สามารถมีสภาวะความเครียดและภาวะสุขภาพจิตได้เหมือนกัน หากเด็กมีสภาวะความเครียดและภาวะจิตเวชสูง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการสะอึกได้ เนื่องจากสุขภาพจิตจะสัมพันธ์กับสุขภาพกาย การพัฒนาการจิตใจ ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กได้ทั้งหมด
-
ปัจจัยทางพันธุกรรม
แม้ว่าอาจจะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่บ่อยครั้งที่ลูกน้อยมีอาการสะอึกมักพบในครอบครัวที่มีประวัติการเกิดสะอึก โดยเฉพาะครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท จึงมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านตั้งสมมุติฐานว่า อาการสะอึกในเด็กอาจมีสาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่มีผลต่อระบบประสาทได้เช่นกัน
ลูกน้อยสะอึกมีอันตรายหรือไม่?
อาการสะอึกในเด็กเล็กมีอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะเวลาที่เกิดการสะอึก จากงานวิจัยของ University College of London และผลงานวิจัยในวารสาร Clinical Neurophysiology ได้เปิดเผยว่า เมื่อลูกน้อยมีอาการสะอึก สมองจะได้เรียนรู้และมีพัฒนาการในด้านการควบคุมระบบหายใจในร่างกาย เนื่องจากเมื่อเกิดอาการสะอึก สมองของเด็กจะส่งสัญญาณให้ไดอะแฟรมดึงอากาศจำนวนมากเข้าสู่บริเวณด้านหลังของลำคอ ทำให้สมองของเด็กได้ฝึกเรียนรู้วิธีกำหนดลมและควบคุมลมหายใจได้ดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาของอาการสะอึกด้วย หากในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการสะอึกยาวนานต่อเนื่องเป็นชั่วโมง และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การสะอึกก็สามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนรู้ อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กได้เช่นกัน ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน เพราะอาการสะอึกที่ผิดปกติมักเกี่ยวพันธ์กับโรคร้ายแรงนั่นเอง
วิธีป้องกันและดูแลอาการสะอึกในเด็กอย่างเหมาะสม
-
คุณแม่สงบร่างกายและจิตใจให้พร้อม
ในบางครั้งสาเหตุของอาการสะอึกอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทั่วไป อย่างกระเพาะอาหารของลูกน้อยขยายตัวหลังจากรับประทานนมเข้าไป คุณแม่ไม่ควรตื่นตระหนก สงบร่างกายและจิตใจให้นิ่ง มีสติและค่อย ๆ สังเกตอาการของลูกน้อย พยายามตรวจสุขภาพลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจสุขภาพลูกน้อยจะช่วยให้คุณแม่รับทราบถึงสุขภาพและพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือและปรับปรุงวิธีการดูแลลูกน้อยให้เหมาะสมได้
-
ไล่ลมเพื่อให้ลูกน้อยเรอออกมาหลังจากกินนม
หลังจากลูกน้อยดื่มนมทุกครั้ง ควรใช้วิธีไล่ลมหรือทำให้ลูกน้อยเรอออกทุกครั้ง เพื่อเด็กจะได้สบายตัว ไม่มีอาการสะอึก และนอนหลับสบายได้ยาวนานตลอดคืน โดยวิธีการไล่ลมสามารถทำได้หลายวิธี อาจจะใช้วิธีการตบหลังลูกน้อยเบา ๆ หรือวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้องจนกว่าลูกน้อยจะเรอออกมาก็ได้ หรือจะใช้วิธีอุ้มให้ส่วนหัวลูกพักอยู่บนไหล่ของเราแล้วค่อย ๆ ลูบหลัง เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้นก็ได้
-
ใช้การนวดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการสะอึก
การนวดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการลูกน้อยสะอึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการนวดไม่เพียงแต่ช่วยขับไล่ลมเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเครียด และเสริมการระลึกอาการสะอึกของเด็กได้ด้วย โดยให้เริ่มต้นจากการให้ลูกนอนค่อย ๆ และสัมผัสจับลูกเบา ๆ ด้วยมือ คุณแม่อาจใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นสบาย ๆ ในการนวดด้วยก็ได้ แนะนำให้ทำทุกวันก็จะดีมาก
-
พาลูกน้อยพบแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการผิดปกติ
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการสะอึกติดต่อกันเป็นชั่วโมง มีอาการสะอึกถี่มาก สะอึกโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการสะอึกร่วมกับมีอาการแหวะนมผสมน้ำดี เซื่องซึม มีไข้ งอแง หายใจไม่ออก หน้าเขียว และท้องป่อง แนะนให้คุณแม่พาลูกน้อยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
จำไว้ว่าการหมั่นสังเกตและตรวจสุขภาพลูกน้อยเป็นประจำจะช่วยให้คุณแม่รับรู้ถึงสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรดอย่าละเลยเวลาแพทย์นัด เพราะการป้องกันนั้นย่อมดีกว่าการรักษาแก้ไขในภายหลังเสมอ สังเกตดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้คลายสายตาโดยเฉพาะช่วงเวลาให้นมลูก เพราะคุณแม่จะได้ทราบว่าอาการสะอึกของลูกเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุปกติ หรือสาเหตุผิดปกติกันแน่ การรู้แน่ชัดดีกว่าการไม่รับรู้เป็นไหน ๆ Punnita หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ทุกท่านไม่มากก็น้อย บทความหน้าใครอยากรู้เกี่ยวกับวิธีเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างไรอีก สามารถคอมเมนต์เข้ามาแจ้งกับเรากันได้เลย