ประโยชน์จากผักผลไม้ 5 สี เพื่อพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ดีของลูกน้อย

เมื่อลูกน้อยมีอายุครบ 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารอ่อนกับลูกน้อยได้แล้ว จึงถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์มาให้กับลูกน้อย แน่นอนว่าในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างแน่นอน คือ สารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งหากจะให้ได้มาซึ่งสารอาหารที่ครบถ้วนก็ต้องมีอาหารที่หลากหลาย อย่างแรกที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว คือ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่ประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน และไขมัน โดยเด็กทารกอาจยังมีระบบย่อยที่ไม่สมบูรณ์นัก การเลือกอาหารจึงต้องเลือกอาหารที่ย่อยง่าย ๆ เป็นหลัก เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ข้าวขาว เต้าหู้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

healthy-vegetables-wooden-table

สำหรับผักและผลไม้นั้น ก็ควรเลือกให้มีความหลากหลายเช่นกัน เพราะผักและผลไม้ที่ต่างชนิดกัน ก็ให้แร่ธาตุและวิตามินที่ต่างกัน สิ่งที่จะจำแนกได้อย่างชัดเจน คือ สีของผักและผลไม้ชนิดนั้น ๆ ซึ่งในที่นี้เราจะสามารถจำแนกผักและผลไม้ออกเป็นกลุ่มหลัก ๆ ได้ 5 สี ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีม่วง และสีขาว มาดูกันว่าผักผลไม้แต่ละสีจะมีแร่ธาตุหรือสารอาหารอะไรอยู่บ้าง และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

 

ผักผลไม้แต่ละสี อุดมไปด้วยสารอาหารใดบ้าง?

 

  • สีเขียว

fresh-lettuce

ผักและผลไม้สีเขียว เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดหอม คะน้า กวางตุ้ง ถั่วเขียว ชะอม ผักโขม พริกหวานสีเขียว พริกหยวกสีเขียว แอปเปิลเขียว องุ่นเขียว หรืออะโวคาโด เป็นต้น มักจะอุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ มีคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายของลูกได้เป็นอย่างดี ลดอาการท้องผูก ส่วนในวัยผู้ใหญ่ คลอโรฟิลล์ ยังเป็นสารที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม และที่สำคัญผักใบเขียวยังมีโฟลิกสูง ซึ่งจำเป็นอย่างมากในคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย

 

  • สีแดง

tomatoes

ผักและผลไม้สีแดง เช่น เช่น มะเขือเทศ แตงโม เชอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี ดอกกระเจี๊ยบ บีทรูท เชอร์รี่ ราสป์เบอร์รี แครนเบอร์รี องุ่นแดง ทับทิม และแอปเปิลแดง เป็นต้น มักอุดมไปด้วย ไลโคปีนและเบตาไซซีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังและช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ในผู้สูงอายุการรับประทานผักและผลไม้สีแดงเหล่านี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจ มะเร็งต่อมลูกหมาก และช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อีกด้วย

 

  • สีเหลืองและส้ม

carrot-background

ผักผลไม้ในกลุ่มที่มีสีเหลืองและสีส้ม เช่น ฟักทอง แคร์รอต พริกเหลือง  มะละกอ ส้ม เลมอน สับปะรด แอปริคอต มันเทศ ขนุน เสาวรส ลูกพลับ และ ข้าวโพด เป็นต้น โดยในกลุ่มผักและผลไม้สีเหลืองจะมี ลูทีน อยู่มากมาย ซึ่งมีประโยชน์มากกับดวงตา มีส่วนช่วยในการพัฒนาการมองเห็นในเด็กเล็ก ส่วนผักผลไม้ชนิดที่มีสีส้มมักอุดมไปด้วยเบตาแคโรทีน ที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวพรรณสดใส รักษาความชุ่มชื่นให้ผิว ช่วยส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ๆ

 

  • สีม่วง

top-view-red-cabbage-cutting-board

ผักและผลไม้สีม่วง เช่น มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี บลูเบอร์รี ดอกอัญชัน พรุน ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเหนียวดำ องุ่นม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง มันม่วง และหอมแดง เป็นต้น มักอุดมไปด้วยแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสียและช่วยต้านไวรัสได้ดีอีกด้วย

 

  • สีขาว

radish-white-space

ผักและผลไม้สีขาว เช่น ลิ้นจี่ ลองกอง ลางสาด สาลี่ แห้ว กล้วย ลูกเดือย หัวไชเท้า ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก ถั่วเหลือง งาขาว กระเทียม และเงาะ เป็นต้น มักอุดมไปด้วยสาร แซนโทน ที่ช่วยลดอาการอักเสบ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

จะเห็นได้ว่าผักและผลไม้ทั้ง 5 สีนั้น มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่ดีกับลูกน้อยแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อปรุงอาหารคุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้เด็ก ๆ ได้รับประทานครบทุกสีเพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

 
Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

 

ทำอย่างไรให้ลูกน้อยยอมทานผัก

เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านก็ประสบปัญหาเดียวกัน คือ ลูกน้อยไม่ชอบทานผัก คุณพ่อและคุณแม่เองก็เป็นกังวลกลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน การฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่ทานผักได้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะเมื่อพวกเขาอยู่ในวัยที่ต้องเจริญเติบโต โดยการเริ่มฝึกให้ลูกทานผัก ควรเริ่มแต่เนิ่น ๆ โดยเริ่มจากการรับประทานผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน หรือรสขม เพื่อให้เด็กน้อยไม่ตกใจกับรสชาติของผักจนเกินไป และพยายามสอดแทรกเมนูผักเอาไว้ในทุก ๆ มื้ออาหารให้ลูกได้กินจนคุ้นชิน

โดยในวัยทารกอาจเป็นการนึ่งผักแล้วนำมาบดละเอียดให้ทาน เมื่อโตขึ้นค่อยใช้การหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว นอกจากนี้เมื่อเด็กโตขึ้นการใช้ผักที่มีหลายสีสันในจานจะช่วยให้อาหารดูน่าสนุกขึ้นและเด็ก ๆ อาจมาให้ความสนใจในการรับประทานผักมากขึ้นอีกด้วย