อาหารที่ควรและไม่ควรทานขณะตั้งครรภ์

อาหารสำหรับคนท้องหรือคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ทุกท่าน เนื่องจากในอาหารคนท้องจะประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของทารกในครรภ์ และยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลือกทานอาหารสำหรับคนท้องอย่างเหมาะสมตลอดช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์เพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์และสารอาหารได้อย่างเต็มที่

pregnant-smiling-woman-eating-salad_329181-2594

อาหารคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทาน

  1. โปรตีน

โปรตีนเป็นแหล่งอาหารสำหรับคนท้องที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยโปรตีนจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง ช่วยเพิ่มขนาดเซลล์ของทารก พบมากในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ นม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ โยเกิร์ต ถั่ว ธัญพืช เป็นต้น

  1. คาร์โบไฮเดรต

เป็นแหล่งพลังงานที่มีความสำคัญต่อระบบสมองและประสาทของทารก แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดี ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด เผือก มัน ถั่ว งา ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังธัญพืช และผลไม้ต่าง ๆ

  1. ธาตุเหล็ก

ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันโรคโลหิตจาง สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ ตับ เครื่องใน เลือด ปลา ไข่แดง ผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม ตำลึง ใบชะพลู ขี้เหล็ก กะเพรา ถั่วแดง งา ลูกพรุน และขนมปังโฮลวีต เป็นต้น

  1. ไอโอดีน

มีส่วนช่วยในกระบวนการพัฒนาระบบประสาทของทารก อาหารที่มีไอโอดีนมาก ได้แก่ อาหารทะเล กุ้ง ปู หอย หมึก สาหร่ายทะเล เป็นต้น

  1. โฟเลต

มีส่วนในการพัฒนาไขสันหลังและระบบประสาทของลูกในครรภ์ พบได้มากในบร็อกโคลี่ คะน้า ข้าวโพด แครอท กะหล่ำปลี ฟักทอง อะโวคาโด แคนตาลูป ถั่ว เป็นต้น

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

  1. แคลเซียม

สำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนในคุณแม่ แหล่งอาหารคนท้องที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ นม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า เป็นต้น

  1. ผักและสมุนไพร

เป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายคุณแม่และลูกในครรภ์ อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักโขม แครอท ฟักทอง ผักใบเขียวทุกชนิด โดยควรรับประทานให้ได้วันละ 3-5 ชนิด

  1. ผลไม้

ในผลไม้ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเช่นเดียวกัน จึงช่วยบำรุงครรภ์และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ผลไม้ที่แนะนำ ได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม มะละกอ ฝรั่ง กล้วย ฯลฯ โดยควรทานให้ได้ทุกวัน สลับชนิดกันไป

  1. ดีเอชเอ

ดีเอชเอ (DHA) เป็นสารอาหารคนท้องที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากมีส่วนช่วยพัฒนาระบบสมองของทารกในครรภ์ แหล่งดีเอชเอที่สำคัญ คือ ปลาทะเล ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาทูน่า ปลาสำลี เป็นต้น

  1. กรดไขมันโอเมกา 3

มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและกระตุ้นการทำงานของระบบสมอง ความจำ และสติปัญญา พบได้มากในปลาแซลมอน ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หมึก ปลาแอนโชวี ปลานิลทะเล น้ำมันปลา น้ำมันคาโนล่า เมล็ดฟักทอง และวอลนัท

dieting-pregnancy-woman-refusing-donuts-choosing-green-apple_78212-219

อาหารคนท้องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

  1. อาหารรสจัด เนื่องจากทำให้เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อได้ง่าย
  2. อาหารสำเร็จรูป อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เนื่องจากมีส่วนผสมของผงชูรสและสารกันบูดในปริมาณมาก
  3. ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ผักเครือเถาที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ และผักสดบางชนิดที่อาจปนเปื้อนดิน
  4. ผลไม้บางชนิด เช่น มะม่วงดิบที่ย่อยยาก ทุเรียนที่มีฤทธิ์ร้อนและทำให้จุกเสียด แน่นท้อง และผลไม้รสหวานจัด เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงต่อเบาหวาน
  5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
  6. อาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและเกลือปริมาณมาก ทำให้เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ เช่น อาหารดอง ขนมกรุบกรอบ
  7. อาหารแช่แข็งหรืออาหารที่อุ่นซ้ำ เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
  8. ไข่ดิบ ไข่ที่ปรุงไม่สุก อาหารสด เนื้อดิบ ลาบดิบ แหนม หรือปลาที่ปรุงไม่สุก เช่น ซูชิปลาดิบ สเต็กที่ไม่สุก ปลาแซลมอนรมควัน หอยนางรม ซึ่งอาจปนเปื้อนแบคทีเรีย
  9. ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาอินทรีย์ เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของปรอท อาจทำลายระบบประสาทของทารกได้
  10. อาหาร น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งเบเกอรี่ ขนมหวาน ไอศกรีม และของเชื่อมทุกชนิด

 

เมื่อทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ สิ่งที่คุณแม่ทุกท่านควรใส่ใจก็คือการดูแลตนเองให้ได้รับโภชนาการที่ดี ซึ่งไม่ได้สำคัญเฉพาะตัวคุณแม่เอง แต่ยังจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ นอกจากอาหารคนท้องที่ควรรับประทานและอาหารสำหรับคนท้องที่ควรหลีกเลี่ยงเหล่านี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ยังควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ลดภาวะแรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงได้รับสารอาหารมากพอต่อการนำไปเลี้ยงลูกในครรภ์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกนั้นจะมีร่างกาย สมอง และระบบประสาทเจริญเติบโตสมบูรณ์และแข็งแรงสมวัย

Leave a Reply

Your email address will not be published.