เรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเจ้าหนูน้อยวัยซน

วัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ขี้สงสัยและกระตือรือร้นเอามาก ๆ ซึ่งทำให้บางครั้งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อยได้ รวมถึงเป็นวัยที่ร่างกายยังบอบบาง ภูมิต้านทานมลภาวะรอบตัวก็ยังมีไม่เต็มที่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อที่จะรับมือได้อย่างทันท่วงที ก่อนส่งลูกน้อยให้อยู่ในความดูแลของคุณหมอ ก็จะเป็นการช่วยการันตีความปลอดภัยของเจ้าหนูน้อยวัยกำลังซนเหล่านี้ได้ โดยเทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ มีดังนี้เลย

parent-helping-his-child-with-knee-injury

อุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าเด็กวัยซนได้มีอะไรบ้าง

  • สำลักอาหาร หรือสิ่งของเล็ก เช่น ของเล่น เป็นต้น
  • โดนบาดหรือแผลถลอก
  • แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบบเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • เลือดกำเดาไหล
  • เป็นหวัด หรือมีไข้สูง
  • เผลอกินสิ่งของมีพิษ
  • อาการช็อก หัวใจหยุดเต้น

 

จะรับมือกับอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ได้อย่างไร

1. อาการสำลัก

  • ทำการยืนยันก่อนว่าเด็กแค่ไอหรือสำลักอยู่
  • เมื่อยืนยันได้แล้วว่าเกิดจากการสำลัก ค่อยกระตุ้นให้เด็กไอแรงเพื่อนำสิ่งของที่ติดอยู่นั้นออกมา
  • แต่ถ้าหากเด็กไม่สามารถไอหรือร้องไห้ได้ ให้เด็กนอนคว่ำหน้าบนท่อนแขนของคุณ ประคองศีรษะเด็กไว้ และตบลงไปบนหลังที่อยู่ระหว่างสะบักแรงๆ 5 ครั้ง
  • หากสิ่งกีดขวางยังคงอยู่ ให้พลิกเด็กกลับมา ใช้การวางสองนิ้วบนกระดูกหน้าอกแล้วกดหน้าอก 5 ครั้งแทน ทำซ้ำจนกว่าสิ่งที่ติดอยู่นั้นจะหลุดออกมาหรือจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

 

2. แผลเล็ก ๆ จากการโดนของมีคมบาดหรือถลอก

  • ทำความสะอาดรอบแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่อย่างอ่อนโยนแต่ทั่วถึง
  • ทายาที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
  • อาจจะปิดแผลด้วยผ้าพันแผลหรือผ้ากอซเพื่อป้องกันแผลสัมผัสกับเชื้อโรค

 

3. แผลไหม้และแผลน้ำร้อนลวกที่ไม่รุนแรง

  • ล้างบริเวณที่โดนลวกด้วยน้ำเย็น โดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านเป็นเวลา 10 นาที
  • ทาว่านหางจระเข้หรือยาสำหรับทาแผลน้ำร้อนลวกเพื่อปลอบประโลมและ
  • อาจจะปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด และไม่ติดกับแผล เพื่อป้องกันการเกิดแผลพุพอง

parent-spending-quality-time-with-their-child

4. เลือดกำเดาไหล

  • ปลอบให้เด็กรู้สึกสงบ ให้เขานั่งลงพร้อมโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ใช้นิ้วบีบจมูกส่วนที่นิ่มเบา ๆ แต่เรื่อย ๆ เป็นเวลา 10 นาที
  • ควรไปพบแพทย์หากเด็กมีเลือดกำเดาไหลนานหรือไหลบ่อย ๆ

 

5. เป็นหวัด หรือมีไข้สูง

  • ทำให้พวกเขาสบายตัวและหมั่นคอยสังเกตอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ และให้การกอดเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย
  • ขอคำแนะนำเกี่ยวกับยาลดไข้ที่เหมาะสมกับวัยจากกุมารแพทย์หากจำเป็น

 

6. ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

  • เก็บบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เด็กได้รับเข้าไปติดตัวไว้ และโทรปรึกษากับคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาเพื่อรับคำแนะนำในการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง
  • อย่ากระตุ้นให้อาเจียนถ้าไม่ได้มีการเขียนติดไว้บนผลิตภัณฑ์หรือได้รับการแนะนำมา
  • ถ้าลูกน้อยของคุณไม่ได้สติหรือมีอาการชัก ให้เรียกรถฉุกเฉินโดยทันที

 

7. อาการช็อก หัวใจหยุดเต้น

  • วางเด็กบนพื้นที่ราบและมั่นคง
  • ทำการ CPR โดยการกดหน้าอก 30 ครั้งโดยใช้สองนิ้ววางไว้ตรงกลางหน้าอก ตามด้วยการช่วยหายใจ (เป่าปาก) สองครั้ง
  • ทำการกดหน้าอกและช่วยหายใจเป็นรอบ ๆ ต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

 

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

จำไว้ว่ายังไงเสีย การป้องกันนั้นย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน จึงควรจะทำให้มั่นใจว่าบ้านของคุณนั้น เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย รวมถึงต้องดูแลลูกน้อยไม่ให้คลาดสายตาด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเรียนรู้เทคนิคการปฐมพยาบาลเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณนิ่งขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้นในการปฐมพยาบาล เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น