การเริ่มอาหารเสริม สำหรับเด็กทารก

การเริ่มอาหารเสริม สำหรับเด็กทารก

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่ต้องมีการเสริมอาหารสำหรับลูกน้อย คุณแม่มือใหม่หลายคนๆ คงกังวลอยู่ไม่น้อยว่าลูกควรทานอะไร ต้องเริ่มทานตอนอายุเท่าไหร่ อาหารแบบไหนถึงจะดีสำหรับลูก ควรจะเริ่มจากตรงไหนก่อน เพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยของตัวเอง  เพื่อลูกจะได้มีพัฒนาการด้านโภชนาการที่เหมาะสมเมื่อเติบโตขึ้น

การสำรวจพฤติกรรมการให้อาหารทารกในประเทศไทย พบว่ายังมีปัญหาการให้อาหารตามวัย เช่น เริ่มให้อาหารเร็วเกินไป ส่วนประกอบไม่เหมาะสม สารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้พบปัญหาน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้นเมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือน

Q : ควรเริ่มเมื่อไหร่

การให้อาหารเสริมแก่ลูกน้อย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่ควรเริ่มอาหารเสริมก่อนอายุ 17 สัปดาห์ แต่ปัจจุบันคุณหมอส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้เริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือน เพราะในช่วงอายุ 6 เดือนแรก ทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอจากนมแม่ที่มีสุขภาพดี นมแม่อย่างเดียวพอเพียงต่อการเติบโตของลูกจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นทารกจำเป็นต้องได้รับพลังงานและอาหารเสริมจากอาหารตามวัย

ในกรณีที่ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยหรือน้ำหนักตัวไม่เพิ่ม หรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่ อาจให้อาหารตามวัยก่อนอายุ 6 เดือนได้ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 4 เดือน

Q : เด็กเเต่ละช่วงวัยควรทานเท่าไหร่ / ทานกี่มื้อ

การให้อาหารเสริมตามวัย คุณแม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมของวัน อาจเป็นมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน
เพิ่มจากการทานนมปกติของลูก และมื้อนมของลูกควรจะลดลงเป็นสัดส่วนกับมื้ออาหาร

สำหรับเด็กอายุ 6 – 8 เดือน

ในช่วงอายุ 6 – 8 เดือน แนะนำให้ป้อนวันละ 1 -2 มื้อ
วัย 6 – 8 เดือน ในช่วงวัยนี้ควรทานข้าวอย่างน้อย 3ถึง4ช้อนโต๊ะ ต้มกับน้ำซุปครึ่งถ้วยตวง
หรือ ใช้ข้าวตุ๋นข้นปานกลาง 4 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำซุป 8 ช้อนโต๊ะ

เนื้อสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะ

ผัก ½ ช้อนโต๊ะ

ผลไม้บด 1-2 ชิ้น

น้ำมัน ½ ช้อนโต๊ะ

checklist-kitchen2-18

สำหรับเด็กอายุ 9 11 เดือน

ในช่วงอายุ 9 – 11 เดือน แนะนำให้ป้อนวันละ 2 -3 มื้อ

ช่วงวัยนี้ลูกน้อยสามารถกินได้ 2-3 มื้อต่อวัน ควรทานข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ
ต้มกับน้ำซุปครึ่งถ้วยตวงให้เปื่อย หรือบดหยาบ

เนื้อสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะ

ผัก ½ ช้อนโต๊ะ

ผลไม้บด 1-2 ชิ้น

น้ำมัน ½ ช้อนโต๊ะ

checklist-kitchen2-19

สำหรับเด็กอายุ 1 – 2 ปี

เมื่ออายุ1ปีขึ้นไป เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ
อาหารตามวัยจะเป็นอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ทั้งนี้ควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่
หลังอายุ 1 ปี นมเป็นอาหารเสริมควรให้รสจืดวันละ 2 – 3 แก้ว ถ้ายังให้นมแม่อยู่ ควรให้นมแม่ต่อไปจนถึงอายุ 2 ปี

Q : ควรให้ลูกทานอะไร

ในแต่ละช่วงวัยลูกน้อยควรทานอาหารตามความต้องการของวัยที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ครบสมบูรณ์ของลูก

 ในช่วงวัย 6- 8เดือน ควรทานข้าวผสมกับผัก เช่น ตำลึง ฟักทอง แครอท หรือบร็อคโคลี่ และอาหารโปรตีนที่บดง่าย เช่น ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน ปลาน้ำจืด

ในช่วงวัย 9 -11 เดือน ควรทานอาหารที่มีโปรตีนและสารอาหารเข้มข้น เช่น ไข่ ตับ ปลา หมูสับ
อาหารที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อปากอย่างอาหารจำพวกฟิงเกอร์ฟู้ดส์ เช่น แครอท ฟักทอง แตงกวาหั่น

ในช่วงอายุ 1 2 ปี ควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ สามารถให้ลูกทานอาหารของผู้ใหญ่บางอย่างได้
แต่ต้องเน้นที่มีลักษณะนุ่มๆ รสไม่จัด เช่น ข้าวผัด หรือต้มจืด เสริมด้วยนมแต่ควรรสจืดวันละ 2 – 3 แก้ว

Q : วิธีทำอาหารเสริมทารก

การทำอาหารเองมีประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของโภชนาการ ความสะอาด อีกทั้งยังประหยัด สำหรับคุณแม่ที่ต้องการทำอาหารให้ลูกน้อยเองนั้น มีวิธีการทำได้หลายแบบและหลากหลายวิธี

1.นึ่ง เป็นวิธีที่คงคุณค่าสารอาหารได้มากที่ อีกทั้งยังคงรสชาติและผิวสัมผัสที่เป็นธรรมชาติได้มากที่สุด ควรซื้อหม้อนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร และมีหลายชั้นเพราะจะได้นึ่งผักหรือผลไม้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ส่วนน้ำที่ได้จากการนึ่งสามารถนำไปใช้ในการปั่นอาหารได้

2.ต้ม ถ้าจะต้มผัก ไม่ควรต้มนานเกินไป เพราะจะทำให้สารอาหารและวิตามินต่างๆหายไปหมด และควรใช้น้ำให้น้อยที่สุด แค่พอท่วม น้ำที่ได้จากการต้มอาจนำไปใช้ปั่นอาหารได้

3.ตุ๋น เหมาะสำหรับการตุ๋นเนื้อสัตว์ เช่น หมู เนื้อ หรือไก่ เพราะเป็นการใช้ไฟอ่อนๆ ในเวลานานทำให้เนื้อสัตว์เปื่อย นุ่ม ง่ายต่อการทานของลูกน้อย

4.ไมโครเวฟ เป็นอีกวิธีที่ง่าย และสะดวกสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ เพียงแค่หั่นผักหรือผลไม้ชิ้นเล็กๆ เติมน้ำลงไปเล็กน้อยทำให้สุก แล้วนำมาปั่น

การปั่นอาหาร
ในช่วงเริ่มของการทำอาหารเสริม สำคัญมากคืออาหารต้องละเอียด ไม่หยาบหรือเป็นก้อน

การเก็บอาหารแช่แข็ง
วิธีที่สะดวกที่สุดในการเก็บอาหารทำเอง คือการเก็บไว้ในบล็อกซิลิโคน ถุงซิปล็อค ถุงพลาสติก กล่องเก็บอาหาร (ที่ทนต่อการแช่แข็งได้)หรือแม้แต่ถุงเก็บน้ำนมและนำไปแช่แข็ง

การอุ่นอาหาร
นำอาหารจากช่องแช่แข็งลงมาใส่ช่องธรรมดา ก่อนที่จะนำมาให้ทาน 1 คืน และควรใช้อาหารที่ละลายแล้วภายใน 24ชม. นำมาอุ่นด้วยไมโครเวฟประมาณ1นาที(แล้วแต่ความร้อนของแต่ละเครื่อง) ควรคนอาหารให้ทั่วและเช็คดูทุกครั้ง เพราะการอุ่นด้วยไมโครเวฟอาจจะทำให้อาหารร้อนไม่เท่ากัน
Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

แนวทางการจัดอาหารทารก

1. เริ่มให้ทานอาหารทีละอย่าง ยังไม่ควรผสมส่วนประกอบหลายๆอย่างและให้ทานครั้งละน้อยๆ เพราะถ้ามีส่วนประกอบหลายอย่างแล้วลูกเกิอาการแพ้ คุณแม่จะไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการแพ้ เมื่อลูกทานได้และไม่มีปัญหาการแพ้อาหาร (มีอาการกลืนอาหารลำบาก หรือหายใจไม่ออก ลิ้น ปาก หรือหน้าบวม เป็นผื่นแดง ปวดท้อง) คุณแม่จึงค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารขึ้น

2. จัดอาหารแต่ละช่วงวัยให้มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความคุ้นชิน เพราะเด็กๆต้องการเวลาที่จะคุ้นเคยกับผิวสัมผัส สี และรสชาติต่างของอาหาร เพราะว่าวัยเด็กจะยึดติดการทำอะไรเดิมๆ ทานอะไรเหมือนเดิม ซึ่งทำให้เด็กไม่ยอมลองทานอะไรใหม่ๆ

3. อาหารในช่วงอายุ 7 เดือนขึ้นไป ไม่ต้องบดอาหารให้ละเอียดมากนัก ควรเพิ่มความหยาบมากขึ้นตามอายุ  เพื่อให้ลูกได้ฝึกการเคี้ยวอาหาร

4. ไม่ควรปรุงอาหารรสจัด ควรให้ทานอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสอาหารเพราะจะทำลูกเสี่ยงต่อโรค

5. วัตถุดิบและภาชนะที่ใช้ปรุงอาหารและใส่อาหารต้องสะอาดและปลอดภัย เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือความสะอาด ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จะใช้ทุกชิ้นรวมถึงเคาน์เตอร์ครัวด้วย

 

ดูอุปกรณ์ทานอาหารเสริมที่จำเป็น Click!! www.punnita.com

Leave a Reply

Your email address will not be published.