สัญญาณเตือนอาการใกล้คลอดมีอะไรบ้าง

การเกิดขึ้นของทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่สุดแสนพิเศษเช่นเดียวกับการให้กำเนิดเจ้าตัวเล็ก ซึ่งตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ 9 เดือนที่ผ่านมา คุณแม่ต้องผ่านเรื่องราวมากมาย ทั้งยังต้องเฝ้าทะนุถนอมฟูมฟักลูกน้อยในครรภ์อย่างใกล้ชิด ยิ่งใกล้ถึงกำหนดที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ยิ่งต้องเตรียมแผนการคลอดกันเป็นล่วงหน้าเป็นเดือน ๆ และเตรียมตัวตัวรับมือกับอาการใกล้คลอดที่จะแสดงให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น วันนี้ Punnita จะพามาดูสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอดสำหรับคุณแม่ก่อนสิ้นสุดการรอคอยตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่จะได้พบเจ้าตัวเล็กกันค่ะ

young-asian-pregnant-woman-holding-her-belly-talking-with-her-child-mom-feeling-happy-smiling-positive-peaceful-while-take-care-baby-pregnancy-lying-sofa-living-room-home_7861-2108

สัญญาณเตือนอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ต้องรู้

เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์หรือ 3-4 สัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด ร่างกายของคุณแม่จะส่งสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอดให้คุณแม่ทราบ ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านก็จะมีอาการใกล้คลอดแตกต่างกันออกไปดังนี้

  • อาการท้องลด

เมื่อใกล้คลอด ทารกในครรภ์จะเคลื่อนศีรษะตัวเองต่ำลงไปในอุ้งเชิงกราน หรือในบางรายอาจเอาก้นลง เพื่อปรับท่าทางตัวเองให้อยู่ในท่าพร้อมคลอด ซึ่งการปรับท่าทางนี้เองจะทำให้มดลูกส่วนล่างของคุณแม่ขยายตัว ส่งผลให้ท้องของคุณแม่ภายนอกดูเหมือนว่าลดต่ำลง หรือที่เรียกว่าอาการท้องลด อย่างไรก็ตาม แม้อาการท้องลดจะทำให้คุณแม่รู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจสะดวกขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้นและอาจรู้สึกหน่วงในเชิงกรานมากขึ้น ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรก อาการท้องลดจะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนที่ 8 หรือ 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว จะเกิดอาการท้องลดไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอด

  • เจ็บท้องคลอด

ในช่วงใกล้คลอด มดลูกของคุณแม่จะขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนตัวลงต่ำจนคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บหรือตึง ๆ ท้อง รวมถึงมีอาการเจ็บท้องรุนแรงมากกว่าปกติ แต่จะเป็นการปวดท้องที่มีจังหวะสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบที่คาดเดาได้ เช่น ปวดท้องทุก 8 นาที แต่ละครั้งจะปวดนาน 30-60 วินาที เป็นต้น โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้ คุณแม่จะเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนและปวดไล่ลงไปยังก้น ซึ่งหากเคลื่อนไหวหรือขยับตัวก็จะเจ็บมากขึ้น ส่วนใหญ่พบร่วมกับอาการน้ำเดินและมีมูกเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด

 

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

 

  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะสร้างชั้นเมือก (Mucous Plug) ขึ้นมาปกคลุมบริเวณปากมดลูกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่โพรงมดลูก แต่เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดที่ปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ร่างกายจะเริ่มสลายเมือกนี้ออกมาทางช่องคลอดเกิดเป็นมูก และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย โดยมูกที่พบจะมีลักษณะข้นหนืดคล้ายตกขาวและมีสีใส สีน้ำตาล สีออกชมพู ไปจนถึงสีแดงสด ซึ่งคุณแม่สามารถพบมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอดนานหลายนาที เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน ๆ ก่อนการคลอด

  • ถุงน้ำคร่ำแตก

ถุงน้ำคร่ำแตกหรือน้ำเดินเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอด โดยน้ำที่ออกมาจากช่องคลอดจะเป็นลักษณะใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจจะไหลออกมาในปริมาณน้อยไปจนถึงปริมาณมากแล้วหายไป โดยอาการน้ำเดินนี้จะแสดงถึงการที่ถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องคุณแม่ ซึ่งพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์ และหากคุณแม่มีอาการน้ำเดินก็มีโอกาสมากถึง 80% ที่คุณแม่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

อาการใกล้คลอดที่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบสัญญาณผิดปกติเหล่านี้ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • มีเลือดสด ๆ ไหลออกมาจากทางช่องคลอด
  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงผิดปกติ
  • ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงกว่าปกติ
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู
  • อาเจียนไม่หยุด

 

โดยทั่วไปการเจ็บท้องคลอดจะใช้เวลาราว 8-12 ชั่วโมง สำหรับคุณแม่ท้องแรก อาการเจ็บท้องอาจนานถึง 12-24 ชั่วโมงกว่าปากมดลูกจะเปิดขยาย ดังนั้น คุณแม่ควรทำใจให้สบายและพยายามผ่อนคลายให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้นก่อนที่จะถึงเวลาได้พบหน้าเจ้าตัวเล็กสุดแสนรักในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าค่ะ

 

Ref:

 

ดูสินค้าแม่และเด็กเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.punnita.com

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.