อากาศร้อนจัด คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังลูกน้อยเป็น ‘ไข้หวัดแดด’!

ในช่วงมีนาและเมษาเป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องพบเจอกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดโดยที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนี้จะอยู่ที่ 35-40 องศาเลยทีเดียว และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในปีต่อ ๆ ไปจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกหรือสภาวะโลกร้อนนั่นเอง อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วอากาศที่ร้อนจัดนั้นทำให้ทั้งรู้สึกแสบบริเวณผิวหนัง รู้สึกเหนียวเหนอะหนะจากเหงื่อที่ไหลตลอดทั้งวัน แต่ไม่เพียงเท่านั้นแดดร้อนจัดยังเป็นอันตรายได้มากกว่าที่คุณคิด

ในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าวนี้อาจทำให้เด็ก ๆ เป็นโรคที่มากับหน้าร้อนได้ หนึ่งในโรคที่มากับหน้าร้อนและพบเห็นได้บ่อย ๆ ในหน้าร้อน คือ โรคไข้หวัดแดด คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจงุนงงและสงสัย เพราะคิดว่ามีแค่ความชื้นในช่วงหน้าฝนเท่านั้นที่จะทำให้เด็กเป็นหวัด แต่ว่าแท้ที่จริงแล้ว อากาศที่ร้อนจัดก็ทำให้เป็นหวัดได้เหมือนกัน ไม่เพียงแต่เด็ก ๆ เท่านั้นที่อาจป่วยเป็นไข้หวัดแดด แต่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน โรคไข้หวัดแดดนั้นแตกต่างจากโรคไข้หวัดทั่ว ๆ ไป เพราะการเป็นไข้หวัดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ร่างกายอ่อนแอ จนทำให้เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดโรคได้ แต่ในขณะที่โรคไข้หวัดแดดนั้น เกิดมาจากการที่ร่างกายสะสมความร้อนมากเกินไปและกลายมาเป็นไข้หวัดแดดในที่สุด

Portrait of a child who covered her face with a mask. A girl is home-schooled. The concept of quarantine, self-isolation, protection from coronavirus, virus, fear of disease, treatment, medicine

อาการของไข้หวัดแดด

เมื่อเด็กป่วยเป็นโรคไข้หวัดแดดจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • อุณหภูมิในร่างกายสูงมาก (แต่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส)
  • เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • คอแห้ง ปากแห้ง
  • เบื่ออาหาร 
  • ตาแดงและปวดแสบปวดร้อนบริเวณกระบอกตาเนื่องจากร่างกายมีความร้อนสะสมมากจนเกินไป 
  • และอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียได้

ซึ่งอาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสะสมความร้อนไว้มากเกินไป เกิดขึ้นได้เมื่ออยู่กลางแดดร้อนจัดนานๆ หรืออยู่ในพื้นที่ที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก อุณหภูมิที่สูงทำให้ร่างกายปรับตัวตามไม่ทัน และเกิดเป็นอาการที่คล้ายเป็นไข้หวัด จึงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนจะแยกไม่ออกเพียงแต่โรคไข้หวัดจะต่างจากไข้หวัดแดดตรงที่มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ร่วมด้วย แต่ในส่วนของไข้หวัดแดดจะไม่ค่อยมีน้ำมูก หรือมีน้ำมูกใส ๆ เพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง แสบคอ และอ่อนเพลียแทน และการที่มีความร้อนสะสมในร่างกายมากเกินไปจนทำให้เกิดไข้หวัดแดดนี้ ยังเป็นพิษต่ออวัยวะภายในโดยเฉพาะม้ามและกระเพาะอาหารอีกด้วย

Happy Asian family wearing a mask to protect against viruses and

การรักษาอาการไข้หวัดแดดในเด็ก

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดแดดสามารถทำได้โดยการหมั่นระบายความร้อนออกทางร่างกาย  ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไป หรือเพื่อเป็นตัวช่วยขับความร้อนออกมาทางปัสสาวะ การพยายามรักษาอุณหภูมิในร่างกายโดยการเช็ดตัวบ่อย ๆ อยู่ในบริเวณที่เป็นที่ร่ม/อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ที่มีผู้คนแออัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ และอย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้เป็นประโยชน์เพื่อซ่อมแซมร่างกาย

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

โรคอื่น ๆ ที่เด็กต้องระวังในช่วงหน้าร้อน

นอกจากโรคไข้หวัดแดดแล้ว อากาศที่ร้อนจัดยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดโรคได้สารพัด เช่น

  • โรคอาหารเป็นพิษ
  • โรคบิดในเด็ก
  • โรคท้องร่วงเฉียบพลัน
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • โรคไข้เลือดออก
  • โรคผดร้อน
  • ภาวะขาดน้ำ
  • โรคลมแดด

ดังนั้นในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าลูกน้อยดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ และรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ และสะอาดหรือเปล่า นอกจากนี้ยังต้องระวังไม่ให้ลูกน้อยโดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และที่สำคัญอย่าลืมให้พวกเขารับประทานอาหารอย่างมีประโยชน์และพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยผ่านพ้นช่วงหน้าร้อนนี้ไปได้โดยมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยตลอดปี

Leave a Reply

Your email address will not be published.