อาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกวัย 9 เดือน พร้อมแนะนำเมนูอาหารและวิธีทำ

แม่จ๋า หนูหิว! พาดู “เมนู อาหาร เด็ก 9 เดือน” สารอาหารครบ พร้อมวิธีทำสุดง่าย!

น้ำนมแม่คือแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก แต่น้ำนมแม่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยวัย 9 เดือนอีกต่อไป เพราะเมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารเพิ่มเติมจากน้ำนมแม่ ดังนั้น นอกจากการให้น้ำนมแม่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเสริมเมนู อาหาร ลูก 9 เดือนง่าย ๆ ให้กับลูกน้อยเพื่อให้พวกเขาได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่สมวัยได้

 

เมนู ลูก รัก วัย 9 เดือน ให้ลูกกินอะไรดี?

การให้อาหาร ทารก 9-10 เดือนอาจเป็นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบและแข็งเป็นก้อนมากขึ้นได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเหงือกของเด็กวัยนี้จะเริ่มแข็งแรงและมีฟันน้ำนมเริ่มขึ้นบ้างแล้ว ดังนั้น สามารถยึดหลักการ “สมวัย + เพียงพอ + ปลอดภัย” กล่าวคือ ให้อาหารในปริมาณที่พอดี ให้พลังงานอย่างเพียงพอ และมีสารอาหารครบถ้วนต่อการพัฒนาการตามวัย โดยสามารถให้อาหาร สำหรับ เด็ก 9 เดือนได้วันละ 2 มื้อควบคู่กับนมแม่ ทั้งนี้ อาหาร เด็ก 9 เดือน ควรประกอบไปด้วยสารอาหารทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้สามารถได้รับจากการทานอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ไข่ ข้าว แป้ง น้ำมัน ผัก รวมไปถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมนู เด็ก 9 เดือนควรเป็นอาหารที่มีรสตามธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรส ไม่หวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด เพราะอาจนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ อาจกล่าวได้ว่าเมนู ลูก 9 เดือนนั้นยังมีความใกล้เคียงกับเมนู เด็ก 6 เดือน แต่อาจเติมส่วนผสมมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์สับละเอียด ผักที่หั่นหรือสับแบบละเอียด เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการเคี้ยวกลืนของลูกให้ดีขึ้นได้

 

3 เมนู อาหาร เด็ก 9 เดือน พร้อมวิธีทำสุดง่าย ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็ทำตามได้สบาย ๆ

ไข่ตุ๋นผัก 3 สี

  • เมนู อาหาร ลูก 9 เดือน – ไข่ตุ๋นผัก 3 สี

ไข่ตุ๋นผัก 3 สี เป็นอาหาร เด็ก 9 เดือนที่ทำได้ง่ายและมีประโยชน์ โดยเป็นการดัดแปลงมาจากเมนูไข่ตุ๋นญี่ปุ่น จึงมีเนื้อเนียน น่ารับประทาน อร่อยกลมกล่อม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเจ้าตัวเล็ก

ส่วนผสม

  • ไข่ไก่ 1 ฟอง
  • ฟักทองหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
  • แครอทหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
  • ตำลึงสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุป 3 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือป่น 1/8 ช้อนชา

วิธีทำ

  • ตีไข่ไก่กับน้ำซุปให้เข้ากัน แล้วนำส่วนผสมไปกรองผ่านกระชอน
  • ใส่ฟักทอง แครอท และตำลึงลงไป คนให้เข้ากัน พร้อมปรุงรสด้วยเกลือ
  • เทส่วนผสมไข่ใส่ถ้วยกระเบื้องหรือถ้วยทนความร้อน แล้วนึ่งด้วยไฟอ่อนจนสุก

 
Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

  • เมนู อาหาร ลูก 9 เดือน – ข้าวบด ปลาทู และฟักทอง

เมนูข้าวบด ปลาทู และฟักทอง เป็นอีกหนึ่งเมนู เด็ก 9 เดือนที่มีคุณค่าทางสารอาหารอย่างหลากหลาย อาทิ โอเมก้า 3 วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม รวมถึงมีรสชาติที่รับรองว่าถูกใจเจ้าตัวเล็กอย่างแน่นอน

ส่วนผสม

  • ข้าวสวย 4 ช้อนกินข้าว
  • น้ำแกงจืด 10 ช้อนกินข้าว
  • เนื้อปลาทูนึ่ง 1 ½ ช้อนกินข้าว
  • ฟักทอง 1 ½ ช้อนกินข้าว
  • น้ำมันพืช ½ ช้อนชา

วิธีทำ

  • นำปลาทูนึ่งไปทอดด้วยไฟอ่อนประมาณ 5-7 นาที และแกะก้างออกจากเนื้อปลาทูให้หมด
  • นำฟักทองไปไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที ให้สุก
  • นำข้าวสวย เนื้อปลาทู ฟักทอง น้ำมันพืชไปปั่น หรือบดรวมกันให้ละเอียด
  • เติมน้ำแกงจืดลงไป แล้วนำเสิร์ฟอาหาร เด็ก 9 เดือนได้ทันที

แกงจืดรวมมิตร

  • เมนู อาหาร ลูก 9 เดือน – แกงจืดรวมมิตร

แกงจืดรวมมิตร เป็นอาหาร สำหรับ เด็ก 9 เดือนที่เหมาะสำหรับเจ้าตัวเล็กอย่างมาก เพราะมีการปรุงให้นุ่ม ยุ่ย กลืน และเคี้ยวง่าย ทำให้ลูกเจริญอาหาร และได้รับสารอาหารที่จำเป็นผ่านผักที่ใส่ผสมไปกับการปรุง ทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับโปรตีน วิตามิน และไฟเบอร์เพื่อช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอและพัฒนาการทางร่างกายอย่างครบถ้วน

ส่วนผสม

  • เนื้อไก่สับละเอียด ¼ ถ้วย
  • แครอทสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • แครอทหั่นแว่น 5-6 ชิ้น
  • มันเทศกดเป็นชิ้น 4-5 ชิ้น
  • ฟักทองกดเป็นชิ้น 4-5 ชิ้น
  • เต้าหู้แข็งกดเป็นชิ้น 5-6 ชิ้น
  • น้ำซุป 1 ถ้วย
  • เกลือป่น 1/8 ช้อนชา

วิธีทำ

  • ผสมเนื้อไก่ แครอทสับ และเกลือป่นเข้าด้วยกัน
  • ปั้นไก่เป็นก้อนกลม แล้วนำไปต้มในน้ำซุปจนสุก
  • ใส่ส่วนผสมที่เป็นผักทั้งหมดลงไปเคี่ยวจนสุกและนุ่มดี แล้วตามด้วยเต้าหู้แข็ง รอให้เดือด เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบให้ลูกน้อย

 

เมนู อาหาร เด็ก 9 เดือน ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสารอาหารให้กับเจ้าตัวเล็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พวกเขาสามารถปรับตัวกับการรับประทานอาหาร ทำให้คุ้นเคยกับรสชาติ เนื้อสัมผัส และประเภทอาหารที่หลากหลาย นำไปสู่การพัฒนาการรับประทานอาหารแบบผู้ใหญ่ และช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน เช่น ภาวะขาดโปรตีน โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published.