7 ข้อห้ามของคุณแม่ในระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรก หลังคลอดลูกน้อย

ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดถือเป็นช่วงการพักฟื้นที่สำคัญสำหรับคุณแม่ทุกท่าน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะปรับสภาพให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ รวมถึงรักษาแผลที่เกิดจากการคลอด ดังนั้น คุณแม่จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจเพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วที่สุด Punnita จึงได้รวบรวม 7 ข้อห้ามของคุณแม่ในระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรก หลังคลอดลูกน้อยมาฝากกันค่ะ

ของไม่มีประโยชน์

  1. ห้ามทานของไม่มีประโยชน์

งดการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ของหมักดอง อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารแช่แข็ง อาหารค้างคืน อาหารที่มีสารปรุงแต่ง หรืออาหารรสจัด เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารอาหารน้อยและมีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกน้อย และอาจส่งผลให้ลูกมีภาวะขาดสารอาหารและเป็นโรคอ้วนในเด็กได้ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้มีพลังงานในการฟื้นฟูร่างกายและผลิตน้ำนมได้อย่างเพียงพอ

  1. ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

เพราะเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้คุณแม่ตกเลือดได้ และยังอาจส่งต่อไปถึงลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่ โดยสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ไม่ดี ตื่นง่าย กระสับกระส่าย งอแง ดูดนมได้ไม่ดี และส่งผลต่อพัฒนาการของลูกได้

  1. ห้ามหักโหมออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย การขยับตัว หรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วหรือรุนแรงในช่วงระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดอาจทำให้เกิดภาวะมดลูกต่ำในแม่ลูกอ่อน รวมถึงส่งผลต่อช่องคลอดและทำให้ฝีเย็บปริแตกได้ หากคุณแม่อยากออกกำลังกายจริง ๆ แนะนำเป็นแค่การขยับแขน ขยับขา การเดินเบา ๆ หรือเลือกท่ากายบริหารที่ไม่กระทบกับช่องท้อง มดลูก และฝีเย็บเท่านั้น

Banner ดูสินค้าแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ Punnita.com

  1. ห้ามยกของหนัก

การออกแรงยกของหนักต้องอาศัยการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อมดลูกและทำให้แผลผ่าตัดคลอดปริหรือฉีกขาดได้ ส่งผลให้เกิดแผลคีลอยด์ที่ฝีเย็บ ทำให้แผลคลอดนูนแดง ไม่เรียบเนียน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หิ้วของหนัก ขึ้น-ลงบันไดบ่อย ๆ รวมถึงการทำงานหนักทุกชนิดในช่วง 6 สัปดาห์แรก และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อจนกว่ามดลูกจะเข้าที่และแข็งแรงขึ้น

  1. ห้ามใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำหนัก ยาลดความอ้วน ยารักษาสิว ยาปฏิชีวะ ยาสเตียรอยด์ รวมถึงยาในกลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่และการไหลของน้ำนม รวมถึงอาจถ่ายทอดไปถึงลูกผ่านทางน้ำนมได้ คุณแม่ที่อยู่ในระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดจึงไม่ควรทานยาตามใจตนเอง แต่ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเท่านั้นเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

 

ผู้หญิงเครียด

  1. ห้ามเครียดจนเกินไป

คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่มักมีภาวะเครียด ซึมเศร้า และเป็นกังวล แม้จะเป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ขอแนะนำให้คุณแม่รวบรวมสติให้ได้มากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะการที่คุณแม่เครียด หงุดหงิด หรือกังวลมากจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง รวมถึงอาจทำให้ลูกน้อยสัมผัสถึงความรู้สึกเหล่านั้นจนทำให้ลูกร้องไห้ งอแง และเลี้ยงยาก ดังนั้น หากรู้ตัวว่าเกิดความเครียด ควรหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อผ่อนคลายอย่างเหมาะสม

  1. ห้ามมีเพศสัมพันธ์

ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด ฝีเย็บจะยังไม่แห้งสนิทดี อีกทั้งยังเป็นช่วงที่น้ำคาวปลายังไหลอยู่ จึงอาจไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงดังกล่าวยังอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดแผลหรือแผลปริ ฉีกขาด รวมถึงเพิ่มโอกาสที่มดลูกจะติดเชื้อจนทำให้มดลูกอักเสบได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรรอให้น้ำคาวปลาหมด แผลหายดี และมดลูกหดตัวลงจนมีขนาดปกติและกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่หลังจากคลอดแล้วประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้

 

สำหรับคุณแม่หลังคลอด การดูแลตนเองในช่วงระยะพักฟื้น 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งบุคคลใกล้ชิดโดยเฉพาะคุณพ่อจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือในการดูแลคุณแม่ในช่วงนี้ให้มาก เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายและจิตใจของคุณแม่ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกคนจะต้องช่วยกันเพื่อให้คุณแม่สามารถผ่านช่วงเวลาที่แสนลำบากนี้ไปได้อย่างง่ายดายนั่นเองค่ะ

 

ดูสินค้าแม่และเด็กเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.punnita.com

 

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ดังนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published.