น้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ไม่เพียงแต่บอกว่าทารกมีน้ำหนักตัวเท่าไรเท่านั้น แต่การติดตามน้ำหนักทารกในครรภ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่มั่นใจว่าลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ หรือไม่ โดยน้ำหนักของทารกในครรภ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนที่เก้า ซึ่งน้ำหนักทารกในแต่ละสัปดาห์จะแปรผันตามอายุครรภ์และปัจจัยต่าง ๆ เช่น โภชนาการของคุณแม่ สภาพสุขภาพ และกรรมพันธุ์อีกด้วย
วิธีตรวจเช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง?
-
ตรวจเช็กจากน้ำหนักคุณแม่
วิธีที่คุณแม่สามารถตรวจเช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ด้วยการสังเกตน้ำหนักของตัวเอง เพราะน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นของคุณแม่นั้นแปรผันไปตามขนาดตัวของลูกน้อยหรือน้ำหนักตัวของลูกน้อยที่เพิ่มขึ้น แต่วิธีนี้อาจจะไม่มีความแม่นยำเท่าไร เพราะเต็มไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของคุณแม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรก มดลูก น้ำคร่ำ เลือดและน้ำ เต้านม น้ำนอกเซลล์ และไขมัน จึงควรใช้วิธีอื่น ๆ ในการตรวจเช็กเพิ่มเติมด้วย
-
ตรวจเช็กโดยวัดความสูงของยอดมดลูก
อีกหนึ่งวิธีการคาดคะเนน้ำหนักของทารกในครรภ์เบื้องต้น ซึ่งคุณแม่สามารถวัดได้จากความสูงของยอดมดลูก พิจารณาโดยแบ่งสัดส่วนระยะสะดือกับกระดูกหัวหน่าวของคุณแม่ตั้งครรภ์ออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน และแบ่งระยะระหว่างสะดือถึงลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งความสูงของยอดมดลูกทั่วไปจะอยู่ที่
ความสูงของดอก | คาดคะเนน้ำหนักทราย |
---|---|
ยอดดอกสูง 25 – 30 ซม. | น้ำหนักทรายประมาณ 1,680 – 2,790 กรัม |
ยอดดอกสูง 31 – 35 ซม. | น้ำหนักทรายประมาณ 2,790 – 3,410 กรัม |
ยอดดอกสูง 36 – 40 ซม. | น้ำหนักทรายประมาณ 3,585 – 4,185 กรัม |
ยอดดอกสูง 41 ซม. ขึ้นไป | น้ำหนักทรายประมาณ 4,340 กรัม ขึ้นไป |
-
ตรวจเช็กด้วยการทำอัลตราซาวด์
ปัจจุบัน เทคโนโลยีอัลตราซาวด์ 4 มิติ ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ เพราะทำให้เห็นขนาดตัวของทารกชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับน้ำหนักของเด็กจริง ๆ แต่ก็อาจมีการคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย คลาดเคลื่อนไปประมาณ 0.45 กิโลกรัม หรือ 453.5 กรัม จากน้ำหนักจริงของทารก
ตารางน้ำหนักมาตรฐานของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์
น้ำหนักของทารกในครรภ์อาจมีขึ้นลงบ้าง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักของคุณแม่ สุขภาพของคุณแม่ กรรมพันธุ์ และอาหารที่รับประทาน อย่างไรก็ตาม เกณฑ์มาตรฐานน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่ควรเป็น ดังนี้
อายุครรภ์ | น้ำหนักทารกในครรภ์ |
1 – 3 สัปดาห์ | 0 กรัม |
4 – 8 สัปดาห์ | 1 กรัม |
9 สัปดาห์ | 2 กรัม |
10 สัปดาห์ | 4 กรัม |
11 สัปดาห์ | 7 กรัม |
12 สัปดาห์ | 14 กรัม |
13 สัปดาห์ | 23 กรัม |
14 สัปดาห์ | 43 กรัม |
15 สัปดาห์ | 70 กรัม |
16 สัปดาห์ | 100 กรัม |
17 สัปดาห์ | 140 กรัม |
18 สัปดาห์ | 190 กรัม |
19 สัปดาห์ | 240 กรัม |
20 สัปดาห์ | 300 กรัม |
21 สัปดาห์ | 360 กรัม |
22 สัปดาห์ | 430 กรัม |
23 สัปดาห์ | 500 กรัม |
24 สัปดาห์ | 600 กรัม |
25 สัปดาห์ | 660 กรัม |
26 สัปดาห์ | 760 กรัม |
27 สัปดาห์ | 875 กรัม |
28 สัปดาห์ | 1,000 กรัม |
29 สัปดาห์ | 1,200 กรัม |
30 สัปดาห์ | 1,300 กรัม |
31 สัปดาห์ | 1,500 กรัม |
32 สัปดาห์ | 1,700 กรัม |
33 สัปดาห์ | 1,900 กรัม |
34 สัปดาห์ | 2,000 กรัม |
35 สัปดาห์ | 2,400 กรัม |
36 สัปดาห์ | 2,600 กรัม |
37 สัปดาห์ | 2,900 กรัม |
38 สัปดาห์ | 3,100 กรัม |
39 สัปดาห์ | 3,300 กรัม |
40 สัปดาห์ | 3,500 กรัม |
น้ำหนักลูกน้อยมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นผลดีหรือไม่?
คุณแม่หลายท่านอาจจะคิดว่าการที่ลูกน้อยมีน้ำหนักมาก ๆ แสดงว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดี แต่ในกรณีที่ลูกน้อยมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์นั้นไม่ใช่เรื่องดีเลย เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานในเด็ก โรคอ้วนในเด็ก รวมถึงอาจมีความเสี่ยงตามมาในภายหลัง เช่น ลูกน้อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงมีรูปร่างผิดปกติ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์และหลังคลอดได้เหมือนกัน หากพบว่าลูกน้อยมีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ช่วยเหลือจะดีที่สุด
น้ำหนักลูกน้อยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?
โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักทารกในครรภ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ อาจบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดสารอาหารในระหว่างการตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่หรือการใช้สารเสพติด แต่สาเหตุหลักที่มักพบได้บ่อย มักมาจากการที่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ไม่เพียงพอ หากคุณแม่ตรวจพบว่าลูกน้อยมีน้ำหนักหรือขนาดตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
น้ำหนักของคุณแม่ก็สำคัญไม่แพ้น้ำหนักลูกน้อยในครรภ์
นอกจากคุณแม่จะต้องหมั่นเช็กน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์แล้ว คุณแม่จำเป็นต้องดูแลสุขภาพร่างกายและน้ำหนักตัวของตนเองด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักของลูกน้อยที่มากเกินไป อาจเกิดจากปัญหาโรคอ้วนจากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มักมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10 ถึง 15 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) ซึ่งสามารถคำนวณเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่เสี่ยงโรคได้ ดังนี้
BMI ก่อนตั้งครรภ์ | น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 (กก.) | น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ช่วงไตรมาส 2-3 (กก.) | น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นทั้งหมด (กก.) |
---|---|---|---|
< 18.5 | 2.3 | 0.5 | 12.5 – 18.0 |
18.5 – 24.9 | 1.6 | 0.4 | 11.5 |
25.0 – 29.9 | 0.9 | 0.3 | 7.0 – 11.5 |
≥ 30 | 0 | 0.2 | 5.0 – 9.0 |
สังเกตได้ว่าสุขภาพที่ดีของลูกน้อยในครรภ์ เริ่มต้นได้จากสุขภาพที่ดีของตัวคุณแม่เองเสมอ ฉะนั้นคุณแม่ท่านใดที่อยากให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง ก็อย่าลืมหมั่นดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง ให้ความสำคัญกับโภชนาการ โดยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน และธัญพืช นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด รวมถึงการฝากครรภ์และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิดกันด้วยนะคะ
สุดท้ายนี้สำหรับคุณแม่ท่านใดที่กำลังมองหาผู้ช่วยในการเตรียมของใช้สำหรับคุณแม่คุณพ่อมือใหม่ สามารถใช้บริการ Punnita ได้นะคะ เพราะเราคือศูนย์รวมสินค้าแม่และเด็กครบวงจร พร้อมให้บริการจัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ท่านใดสนใจสามารถปรึกษาเราได้เลยค่ะ